top of page
Writer's picture4MEGA

เลือดจระเข้: แหล่งใหม่ของยาปฏิชีวนะและการรักษาเชื้อเอชไอวี (HIV)



งานวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของยาปฏิชีวนะและคุณสมบัติที่จะมาเป็นยาในตัวจระเข้นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่พัฒนาทำให้การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียและไวรัสลดลงนั้นส่งผลให้งานวิจัยเลือดจระเข้นั้นเป็นแรงฉุดให้เป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้น นักชีววิทยาสังเกตพฤติกรรมของจระเข้ในป่า แม้ว่าจระเข้จะมีพฤติกรรมที่รุนแรงและเป็นอันตรายกับสัตว์อื่น ๆ แต่ก็ถูกพบน้อยมากที่จระเข้นั้นจะติดเชื้อจากอาการบาดเจ็บจนถึงแก่ชีวิต แม้ว่าจะใช้เวลานานในการติดเชื้อแบคทีเรียในน้ำหนองแต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อกระบวนการรักษา ความต้านทานตามธรรมชาติดังกล่าวต่อการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งหาได้ไม่ยากในสัตว์ป่า แต่เลือดของจระเข้ดูเหมือนจะต้านทานเป็นพิเศษ


เมื่อทำการศึกษาเซรั่มในเลือดมนุษย์ที่มีความเข้มข้นและเซรั่มในเลือดจระเข้ที่มีความเข้มข้นเท่ากัน กับแบคทีเรียทั้ง 23 สายพันธุ์รวมถึงแบคทีเรียที่ดื้อยาสายพันธุ์ MRSA เซรั่มในเลือดของมนุษย์นั้นสามารถกำจัดแบคทีเรียได้เพียง 8 ใน 23 สายพันธุ์ แต่เซรั่มในเลือดของจระเข้สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งหมด 23 สายพันธุ์รวมถึงแบคที่เรียที่ดื้อยาสายพันธุ์ MRSA ด้วย นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับของการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ในตัวอย่างเลือดมนุษย์อีกด้วย


จากผลการทดสอบที่น่าเชื่อถือเหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์จึงเริ่มสังเคราะห์โครงสร้างทางเคมีของเปปไทด์ในเลือดจระเข้ และระบุได้ว่ายีนตัวแรกในจระเข้น้ำจืด Crocodylus siamensis และเปปไทด์ RN15 ที่ได้จากโดเมนของคาธีลินสามารถแสดงฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย (Tankrathok และคณะ, 2019) และผลลัพธ์ที่น่าสนใจที่สุดคือการวิจัยของ ดร. โดนัลด์ บรานช (นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยแห่งโรงพยาบาลโตรอนโต; TGHRI และนักวิจัยศูนย์โรคมะเร็งปริ้นเซสมาการ์เร็ต; PM CCRU) และ สตีเฟ่น แม็คคาร์ธี่ (มหาวิทยาลัยโตรอนโต) ทีมวิจัยของพวกเขาได้นำเซลล์ของมนุษย์ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เมื่อหยดเลือดจระเข้ลงในเซลล์ พบว่าเลือดจระเข้สามารถทำลายเชื้อเอชไอวี (HIV) ได้


Credit: The Science Times, Staff Reporter: Apr 21, 2019 06:49 AM EDT & Research at University Health Network

22 views0 comments

コメント


bottom of page